2.3 รู้จักและใช้งานเลเยอร์ (Layer)
2.3.1 รู้จักกับ Layer
เลเยอร์ (Layer) เป็นที่อยู่ของภาพ ข้อความ หรือวัตถุต่าง ๆ ที่เราสร้างขึ้น หรือนำเข้ามาใช้ในโปรแกรม Photoshop วัตถุทุกชิ้นจะต้องอยู่บนเลเยอร์หนึ่งเสมอ ไม่สามารถอยู่เดี่ยว ๆ โดยไม่มีเลเยอร์ได้และ Photoshop CS6 ได้เพิ่มช่องสำหรับค้นหาเลเยอร์ (Layer Searching) ที่จะทำให้การค้นหาเลเยอร์ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น (ส่วนนี้จะแนะนำและใช้งาน Layer searching ในบทที่ 9 ฟีเจอร์ใหม่ Photoshop CS6)
การเกิดภาพหรือชิ้นงานในโปรแกรม Photoshop จะเกิดจากการซ้อนทับกันของเลเยอร์ วัตถุในเลเยอร์บนจะซ้อนทับวัตถุที่อยู่ในเลเยอร์ล่าง ๆ จนกลายเป็นภาพผลลัพธ์ขึ้นมา การทำงานของเลเยอร์จึงเปรียบเทียบได้กับแผ่นใสที่ซ้อนทับกันจนเกิดเป็นภาพต่าง ๆ ถ้าแผ่นใสด้านล่างเป็นภาพ หรือตัวอักษร ในขณะทีแผ่นใสด้านบนเป็นภาพโปร่งใสก็จะมองเห็นทะลุไปยังภาพข้างล่างได้
2.3.2 พื้นฐานการใช้งานเลเยอร์
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า วัตถุทุกชิ้นในโปรแกรม Photoshop ไม่ว่าจะเป็นภาพ ตัวอักษร หรือรูปที่วาดขึ้นมาจากเครื่องมือในโปรแกรมจะต้องอยู่บนเลเยอร์ ดังนั้น การทำงานกับเลเยอร์จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ โดยพื้นฐานการใช้งานเลเยอร์ที่จำเป็น และใช้งานกันบ่อย ๆ แสดงรายละเอียดในหัวข้อต่อไปนี้
สร้างเลเยอร์ใหม่
เมื่อเราเปิดหน้ากระดานสำหรับทำงานขึ้นมาใหม่ โปรแกรมจะสร้างเลเยอร์ที่ชื่อBackground ขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ แต่ตามปกติเลเยอร์ Background นี้จะถูกปล่อยว่างไว้ไม่ทำอะไรกับเลเยอร์นั้น เราจึงต้องสร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ โดยขั้นตอนการสร้างเลเยอร์ใหม่ มีดังนี้
กำหนดชื่อและสีให้เลเยอร์
ตามปกติเมื่อสร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ โปรแกรมจะตั้งชื่อมาให้เป็นคำว่า Layer ตามด้วยลำดับเลข ซึ่งถ้าเราทำงานกับเลเยอร์จำนวนมาก ๆ อาจจะสับสนได้ว่า เลเยอร์ไหนเป็นอะไร มีวัตถุอะไรอยู่ในเลเยอร์นั้น ดังนั้น เพื่อป้องกันการสับสน เราสามารถกำหนดชื่อใหม่ให้กับเลเยอร์ รวมถึงกำหนดสีของเลเยอร์ได้ด้วย ดังขั้นตอนต่อไปนี้
คัดลอกเลเยอร์
นอกจากการสร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่แล้ว ในการทำงานบางครั้งเราจำเป็นต้องคัดลอกเลเยอร์ขึ้นมาเพิ่ม อาจจะเพื่อทดลองคำสั่งหรือปรับแต่ค่าให้ต่างกันไปเพื่อดูผลลัพธ์ที่จะได้ออกมา วิธีการคัดลอกเลเยอร์ มีขั้นตอนดังนี้
เลือกเลเยอร์
ก่อนที่จะใช้คำสั่งหรือทำงานใด ๆ ก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ เลือกเลเยอร์ที่จะทำงานด้วยก่อนโดยวิธีการเลือกเลเยอร์สามารถทำได้ 2 แบบ ดังแสดงรายละเอียดต่อไปนี้
วิธีที่ 1 เลือกเลเยอร์ที่ต้องการโดยตรง
วิธีที่ 2 เลือกเลเยอร์ผ่านตัววัตถุ โดยการทำงานร่วมกับคำสั่ง Auto Selected วิธีนี้เหมาะกับกรณีที่จะต้องทำงานกับ Layer จำนวนมาก ๆ ดังขั้นตอนต่อไปนี้
เลือกหลาย ๆ เลเยอร์
เมื่อต้องการเลือกหลาย ๆ เลเยอร์พร้อมกัน กรณีนี้จะใช้เมื่อต้องการจะเคลื่อนย้ายวัตถุหลายชิ้นที่อยู่ในหลาย ๆ เลเยอร์ไปพร้อมกันซึ่งมีวิธีการดังนี้
2.3.1 รู้จักกับ Layer
เลเยอร์ (Layer) เป็นที่อยู่ของภาพ ข้อความ หรือวัตถุต่าง ๆ ที่เราสร้างขึ้น หรือนำเข้ามาใช้ในโปรแกรม Photoshop วัตถุทุกชิ้นจะต้องอยู่บนเลเยอร์หนึ่งเสมอ ไม่สามารถอยู่เดี่ยว ๆ โดยไม่มีเลเยอร์ได้และ Photoshop CS6 ได้เพิ่มช่องสำหรับค้นหาเลเยอร์ (Layer Searching) ที่จะทำให้การค้นหาเลเยอร์ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น (ส่วนนี้จะแนะนำและใช้งาน Layer searching ในบทที่ 9 ฟีเจอร์ใหม่ Photoshop CS6)
การเกิดภาพหรือชิ้นงานในโปรแกรม Photoshop จะเกิดจากการซ้อนทับกันของเลเยอร์ วัตถุในเลเยอร์บนจะซ้อนทับวัตถุที่อยู่ในเลเยอร์ล่าง ๆ จนกลายเป็นภาพผลลัพธ์ขึ้นมา การทำงานของเลเยอร์จึงเปรียบเทียบได้กับแผ่นใสที่ซ้อนทับกันจนเกิดเป็นภาพต่าง ๆ ถ้าแผ่นใสด้านล่างเป็นภาพ หรือตัวอักษร ในขณะทีแผ่นใสด้านบนเป็นภาพโปร่งใสก็จะมองเห็นทะลุไปยังภาพข้างล่างได้
2.3.2 พื้นฐานการใช้งานเลเยอร์
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า วัตถุทุกชิ้นในโปรแกรม Photoshop ไม่ว่าจะเป็นภาพ ตัวอักษร หรือรูปที่วาดขึ้นมาจากเครื่องมือในโปรแกรมจะต้องอยู่บนเลเยอร์ ดังนั้น การทำงานกับเลเยอร์จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ โดยพื้นฐานการใช้งานเลเยอร์ที่จำเป็น และใช้งานกันบ่อย ๆ แสดงรายละเอียดในหัวข้อต่อไปนี้
สร้างเลเยอร์ใหม่
เมื่อเราเปิดหน้ากระดานสำหรับทำงานขึ้นมาใหม่ โปรแกรมจะสร้างเลเยอร์ที่ชื่อBackground ขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ แต่ตามปกติเลเยอร์ Background นี้จะถูกปล่อยว่างไว้ไม่ทำอะไรกับเลเยอร์นั้น เราจึงต้องสร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ โดยขั้นตอนการสร้างเลเยอร์ใหม่ มีดังนี้
กำหนดชื่อและสีให้เลเยอร์
ตามปกติเมื่อสร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ โปรแกรมจะตั้งชื่อมาให้เป็นคำว่า Layer ตามด้วยลำดับเลข ซึ่งถ้าเราทำงานกับเลเยอร์จำนวนมาก ๆ อาจจะสับสนได้ว่า เลเยอร์ไหนเป็นอะไร มีวัตถุอะไรอยู่ในเลเยอร์นั้น ดังนั้น เพื่อป้องกันการสับสน เราสามารถกำหนดชื่อใหม่ให้กับเลเยอร์ รวมถึงกำหนดสีของเลเยอร์ได้ด้วย ดังขั้นตอนต่อไปนี้
คัดลอกเลเยอร์
นอกจากการสร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่แล้ว ในการทำงานบางครั้งเราจำเป็นต้องคัดลอกเลเยอร์ขึ้นมาเพิ่ม อาจจะเพื่อทดลองคำสั่งหรือปรับแต่ค่าให้ต่างกันไปเพื่อดูผลลัพธ์ที่จะได้ออกมา วิธีการคัดลอกเลเยอร์ มีขั้นตอนดังนี้
เลือกเลเยอร์
ก่อนที่จะใช้คำสั่งหรือทำงานใด ๆ ก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ เลือกเลเยอร์ที่จะทำงานด้วยก่อนโดยวิธีการเลือกเลเยอร์สามารถทำได้ 2 แบบ ดังแสดงรายละเอียดต่อไปนี้
วิธีที่ 1 เลือกเลเยอร์ที่ต้องการโดยตรง
วิธีที่ 2 เลือกเลเยอร์ผ่านตัววัตถุ โดยการทำงานร่วมกับคำสั่ง Auto Selected วิธีนี้เหมาะกับกรณีที่จะต้องทำงานกับ Layer จำนวนมาก ๆ ดังขั้นตอนต่อไปนี้
เลือกหลาย ๆ เลเยอร์
เมื่อต้องการเลือกหลาย ๆ เลเยอร์พร้อมกัน กรณีนี้จะใช้เมื่อต้องการจะเคลื่อนย้ายวัตถุหลายชิ้นที่อยู่ในหลาย ๆ เลเยอร์ไปพร้อมกันซึ่งมีวิธีการดังนี้